วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทความวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย 5 เรื่อง


เรื่องที่ 1 การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

PARTICIPATIVE ADMINISTRATION AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF SCHOOL MANAGEMENT UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 9

.........................................................................................................................................................................

Creator Name: ฤทัยรัตน์  ปัญญาสิม

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย คือ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงล าดับ จากมากไปหาน้อย คือ ทักษะด้านการบริหารสถานศึกษา สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การบรรลุเป้าประสงค์ของสถานศึกษา ความคาดหวังที่มีต่อนักเรียน และภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์การมีส่วนร่วมในการด าเนินการ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็น ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 75.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

    เรื่องที่ 2  ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียนต่อ
    การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
A Study of Job Satisfaction of Administrators Teachers and Student's Parents Toward The Academic Administration in Basic Educational Institutions Under the Office of Educational Service Area 2; Sisaket Province
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
Creator Name: สกุล หมื่นสุข
Abstract: การวิจัย เรื่อง ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และผู้ปกครองนักเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 2 ประชากรคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และ ผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และ ผู้ปกครองนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 139 คน 331 คน และ 373 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และ 0.95 ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการใน สถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ผู้ปกครองนักเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็กและสถานศึกษา ขนาดใหญ่ มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง มีความพึงพอใจ ต่อการบริหารงานวิชาการในสถานขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษามี ความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง จ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในสถานศึกษา ที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความพึงพอใจ ต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในสถานศึกษา ที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีความ พึงพอใจ ต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่ต่างกัน ผู้ปกครองนักเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีความพึงพอใจต่อการ บริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ปกครองนักเรียนในสถานศึกษาที่มี ขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาโดยรวม ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์   Email: lib_srru@hotmail.com

เรื่องที่ 3  การศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5.
The Study on Participations in Academic Affair Administration of Teachers under The Jurisdiction of NakhonratchasimaPrimary Educational Service Area Office 5.
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
Creator Name: สุมาลี สัจจาวัฒนา
Abstract: กกกการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 และ 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2553 จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีการของลิเคิร์ท ซึ่งมี ค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test กกกกกกกผลการศึกษา พบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน ทั้ง 10 ด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผล การเรียน และด้านการแนะแนวการศึกษา ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำแนกตามประสบการณ์ ในการทำงาน โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งทางวิชาการ ไม่แตกต่างกัน
 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.สำนักวิทยบริการ

เรื่องที่ 4  การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในทรรศนะของครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ
องครักษ์จังหวัดนครนายก
Primary School Administration in the Opinions of Teachers under the Ongkharak District
 Education Office, Nakhon Nayok Province
....................................................................................................................................................
Creator  Name: อรนุช พรมสอน
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาถึงการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในทรรศนะของครู สังกัด สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยได้ทำการศึกษาใน 6 งาน คือ การบริหารงานด้านวิชาการ การบริหารงานด้านบุคลากร การบริหารงานด้านกิจการนักเรียน การบริหารงานด้านธุรการและ การเงิน การบริหารงานด้านอาคารสถานที่ และการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครู จำนวน 200 คน ได้รับแบบสอบถามคืนครบ 200 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ใช้แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามทรรศนะของครู ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจากคำถามจำนวน 30 ข้อ จากกลุ่มตัวอย่าง 30 คนหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ ANOVA ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สถานภาพของครู ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 มีอายุสูงกว่า 40 ปี จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 วุฒิการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 164 คน คิดเป็นร้อยละ 82.00 ประสบการณ์การสอนมากกว่า 16 ปี จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 53.00 ปฏิบัติการในโรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 61.00 ผู้บริหารมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 65.50 และมีประสบการณ์ในการบริหารงานน้อยกว่า 13 ปี จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 58.00 2. การบริหารงานด้านอาคารสถานที่ เป็นการบริหารงานที่ผู้บริหารปฏิบัติมากเป็นอันดับแรก ( = 3.90, S.D. = 0.76 ) รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ( = 3.63, S.D. = 0.87 ) ด้านธุรการและการเงิน (= 3.60, S.D. = 0.93 ) ด้านวิชาการ ( = 3.50, S.D. = 0.85 ) และด้านกิจการนักเรียน ( = 3.50, S.D. = 0.87 ) ส่วนลำดับสุดท้าย คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (= 3.24, S.D. = 0.96 ) 3. เปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในทรรศนะของครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน ประสบการณ์ในการสอนต่างกัน และปฏิบัติงานในโรงเรียนที่ผู้บริหารมีประสบการณ์ในการบริหารต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในทรรศนะของครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่ผู้บริหารวุฒิการศึกษาต่างกัน และที่มีโรงเรียนต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ไม่แตกต่างกัน
สาขาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

เรื่องที่ 5  การประเมินมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมของครู อาจารย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
An Assessment of moral and Ethics Standards of teachers in Siam Technology college of Business Administration (sbac)
.................................................................................................................................................
Creator Name: เพ็ญชัย ขวัญอ่อน
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการประเมินคุณภาพมาตรฐานและเปรียบเทียบสภาพการประเมินคุณภาพมาตรฐาน ด้านคุณธรรม จริยธรรม ของครูอาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ผู้ปกครอง และครู อาจารย์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ปีการศึกษา 2557 ทุกระดับชั้น จำนวน 450 คน ครูอาจารย์ จำนวน 110 คน และผู้ปกครองนักศึกษาทุกระดับชั้น จำนวน 450 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเห็นของนักศึกษา ครู อาจารย์ และผู้ปกครองเกี่ยวกับการประเมินมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ของครู อาจารย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) อยู่ในระดับดี 2. ปัญหาและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา การประเมินมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมของครู อาจารย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) พบว่า การบริหารงานด้านบุคลากรของวิทยาลัย จำเป็นต้องเสริมสร้างพัฒนาครูให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพครู วิทยาลัยจะต้องพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมดีงาม เพื่อให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และร่างกาย
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. สำนักหอสมุดและสารสนเทศ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น