วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

ไม่สนโลก - Rapper Tery Feat. เต้ย ณัฐพงษ์ [Lyric]


บทความฐานข้อมูลภาษาไทย (5)


กระแสการปฏิรูปการศึกษา

  ถ้าจะกล่าวถึงคำว่ากระแส ” ในอดีต มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของธรรมชาติ เช่น กระแสลม กระแสน้ำ กระแสอากาศ เป็นต้น ในพจนานุกรม ได้อธิบายว่า กระแสคือน้ำหรือลม ที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย ดังนั้น อะไรก็ตามที่เคลื่อนที่ไปไม่หยุดนิ่งแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นก็มักจะเรียกว่า กระแส ในปัจจุบันสังคมทั่วไปมีความคุ้นเคยกับคำว่ากระแสมนุษย์สร้างขึ้น  ถ้าต้องการให้เรื่องใดได้รับความสนใจก็จะมีการสร้างกระแส ถ้าหากการสร้างกระแสนั้นมุ่งประโยชน์ส่วนรวม หรือมุ่งพัฒนาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะนำไปสู่การรวมพลังเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ แต่ถ้าการสร้างกระแสเพื่อกลบเกลื่อนความจริง หรือมุ่งประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือ ทำลายล้างสิ่งที่มีอยู่ ก็จะนำไปสู่ความสับสนและการเสื่อมถอย กระแสที่มักจะถูกสร้างขึ้นได้แก่ กระแสการเมือง กระแสวัฒนธรรม กระแสต่อต้านโครงการต่างๆ เป็นต้น ในยุคโลกาภิวัฒน์ ก็เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม รวมถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา หรือเรียกสั้นๆ ว่า กระแสปฏิรูปการศึกษา

          กระแสปฏิรูปการศึกษา เกิดจากการผลักดัน จากสถานการณ์ต่าง ๆ และจากแหล่งต่าง ๆ ของสังคม แล้วค่อย ๆ ก่อตัวจนมีพลังถึงขั้นเกิดกระแสปฏิรูปการศึกษาเป็นระยะ ๆ เมื่อมีแรงหนุนจากกระแสอื่น ๆ เช่น กระแสโลกาภิวัฒน์  กระแสปฏิรูปการเมือง ก็จะมีพลังของกระแสมากขึ้น และในช่วงระยะ 2-5 ปี ที่ผ่านมากระแสปฏิรูปการศึกษาได้ไหลหรือเคลื่อนเข้าไปในทุกวงการ  เนื่องจากได้ปลุกกระแสการปฏิรูปการศึกษาควบคู่กับกระแสปฏิรูปการเมืองและทำให้เป็นประเด็นทางการเมืองนำไปสู่การออกกฎหมาย และรัฐบาลนำมากำหนดเป็นวาระแห่งชาติ นั่นก็หมายความว่า ประชาชนทุกคน จะต้องมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน และนำสู่เป้าหมายสูงสุดของประเทศ คือ การพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้นคนวงการศึกษาหรือที่สำคัญคือคนกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องตระหนักถึงคุณค่าของกระแสปฏิรูปการศึกษา และจะหลีกเลี่ยงไม่รับรู้หรือไม่รับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการปฏิรูปการศึกษาคงไม่ได้ วัฒนธรรมการทำงานแบบเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อไม่ให้ตัวเองเป็นตัวถ่วงความเจริญ เป็นคนตกยุคและไม่ให้คนทั่วไปมองว่าคนวงการศึกษาไม่พัฒนา กลายเป็นครูที่รู้ไม่เท่าทันเด็ก เพราะไม่พัฒนาตนเอง บางคนคิดว่าเมื่อยี่สิบปีก่อนไม่มีใครเก่งเกิน ดีเกิน เคยทำหรือสอนอย่างไรปัจจุบันก็ทำอย่างนั้นและยังคิดว่าไม่มีใครเก่งเท่าตนเอง และยังปิดกั้นตัวเองไม่รับรู้การเปลี่ยนแปลง ใครคิดต่างก็กลายเป็นศัตรูทางความคิด และกีดขวางการคิด ไม่รับฟังความคิดคนอื่น กลายเป็นต้นเหตุของปัญหาปฏิรูปการศึกษา  

          ในกระแสปฏิรูปการศึกษาปัจจุบันมีหลายประเด็นที่นำไปสู่การสร้างกระแสสนับสนุนและกระแสคัดค้าน เช่น การสนับสนุนหรือคัดค้านความคิดของบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเสนอกฎหมายเพื่อปฏิรูปโครงสร้างการบริหารการศึกษา บางประเด็นมีเหตุมีผลของการเกิดกระแส เนื่องจากประชาชนทั่วไปเข้าใจและมีส่วนได้ส่วนเสีย แต่บางประเด็นก็สร้างกระแสเพื่อมุ่งผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และนำไปสู่การชุมนุมคัดค้านหรือสนับสนุนบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางครั้งก็เป็นที่น่าเสียดาย(น่าละอาย)ที่คนในวงการศึกษาไม่ได้นำกระบวนการทางปัญญามาค้นหาทางเดินที่สร้างสรรค์  แต่ใช้กระบวนการแบบการเมืองมุ่งทำลายล้างบุคคลหรือองค์กรที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างหรือขัดผลประโยชน์ขององค์กรตนเองและที่น่าเสียดายมากกว่านั้นก็คือ การปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหัวใจปฏิรูปการศึกษา ไม่ได้นำมาสร้างกระแส หรือ ปลุกกระแสไม่ขึ้น  เพราะประชาชนยังไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ  คนวงการศึกษา เข้าใจแต่มองไม่เห็นประโยชน์ที่ตนจะได้รับ และมีความรู้สึกว่าเหนื่อยมากขึ้น มีภาระมากขึ้นจึงไม่สนใจ

          เมื่อเกิดกระแสปฏิรูปการศึกษาที่มีพลังขับเคลื่อนจากทุกส่วนของสังคมน่าจะเป็นโอกาสของประเทศไทย ที่จะนำการศึกษามาเป็นเครื่องมือหรือเป็นฐานในการพัฒนาประเทศทุกๆ ด้าน สิ่งแรกที่ควรต้องทำมากที่สุด คือ ทำให้คนที่จะมาทำหน้าที่ให้การศึกษาหรือพัฒนาคนอื่นที่เรียกว่า นักการศึกษาอาจเป็นครูหรือคนสอนครู ผู้บริหารทั้งระดับสูงและระดับไม่สูง นักวิชาการทั้งอาวุโสและไม่อาวุโส นักวิชาการทั้งฝ่ายด่าและฝ่ายทำ ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น มีคุณภาพขึ้น บางคนอาจถึงขั้นล้างสมองใหม่ เพื่อให้มีจิตสำนึกสาธารณะ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพมากขึ้น   เป็นที่พึ่งของเด็กมากกว่าใช้เด็กเป็นที่พึ่ง สร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับจากสังคม  ให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการศึกษา เสมือนเป็นผู้ขับเคลื่อนระบบ มากกว่าการเป็นส่วนหนึ่งของระบบ(ปัจจัยนำเข้า)เพียงอย่างเดียว   หมายความว่าจะต้องมีคนทางการศึกษาส่วนหนึ่งที่เป็นกลุ่มหัวกะทิ  มาทำหน้าที่ควบคุมและขับเคลื่อนระบบการศึกษา  กลุ่มหัวกะทิที่ว่านี้ต้องเป็นผู้มีกรอบของความรู้ดีมีคุณธรรม (ไม่ใช่คนเก่งแต่โกง หรือซื่อสัตย์แต่ทำอะไรไม่เป็น)  มีลักษณะเป็นนักประสานความคิดและมีบารมีพอที่จะกระตุ้นสังคมให้เกิดกระแสการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา  กลุ่มหัวกะทิดังกล่าวอาจมาจากหลากหลายอาชีพไม่ว่าจะเป็นชาวนา พ่อค้า ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักวิชาการ ผู้บริหาร สื่อมวลชน  ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์สูงและเข้าใจปัญหาการศึกษาเป็นอย่างดี  ที่สำคัญคือมีประวัติการทำงานที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ ไม่โกงภาษี  คอรัปชั่น หรือสร้างความร่ำรวยจากความเดือดร้อนของผู้อื่น  ถ้าการปฏิรูปการศึกษาได้กลุ่มหัวกะทิที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมาช่วยดูแล และประคับประคองกระบวนการปฏิรูปทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ เชื่อได้ว่าการปฏิรูปการศึกษาจะก้าวสู่ความสำเร็จได้  ซึ่งขณะนี้ก็มีนักการศึกษาและผู้บริหารการศึกษาหลายท่านคิดแนวทางนี้  โดยเสนอให้มีองค์กรในรูปแบบของสภาปฏิรูปการศึกษา ต้องคอยติดตามว่าจะได้กลุ่มคนหัวกะทิแท้มาทำหน้าที่หรือไม่  ขอบันทึกความคิดของผู้เขียนเพื่อจะตีกันคนที่หัวกะทิไม่แท้(ไม่เก่งจริง)ว่า  อย่ามาทำหน้าที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาเลย  เปิดโอกาสคนเก่งและเป็นหัวกะทิแท้มาคิดและทำบ้าง  และขอเชิญชวนประชาชนที่มีส่วนได้เสียกับผลของการจัดการศึกษามาสร้างกระแสเพื่อกระตุ้นให้คนที่เก่งและเสียสละเพื่อส่วนรวมมาช่วยปฏิรูปการศึกษาให้เดินหน้าต่อไปและช่วยขัดขวางคนที่จะมาแสวงหาผลประโยชน์หรือนักวิชาการฝ่ายด่า  พูดไม่สร้างสรรค์ให้หลุดพ้นจากกระบวนการปฏิรูปการศึกษาทุกรูปแบบ

Copyright @ : 2001 Ministry of Education, THAILAND
แหล่งข้อมูล : ดร.สมศักดิ์   ดลประสิทธิ์

บทความฐานข้อมูลภาษาไทย (4)


คนมีคุณภาพคือคุณภาพการศึกษา

       ถ้าจะกล่าวถึงคุณภาพแล้ว ทุกสังคม ทุกองค์กร ทุกชุมชน ทุกคน ทุกกิจกรรม ทุกกระบวนการ
และทุกระบบล้วนต้องการ
คุณภาพ” เพราะคุณภาพคือความพึงพอใจของผู้รับบริการ คุณภาพคือความ
อยู่รอด คุณภาพคือความก้าวหน้า คุณภาพคือตัวชี้วัด ความสำเร็จ ฯลฯ สังคมที่มีคุณภาพเป็นสังคมที่มี
ความกินดีอยู่ดี เอื้ออาทรและเกื้อกูลกัน มีระบบเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรมที่ดี
องค์กรที่มีคุณภาพเป็นองค์กรที่มีสมาชิกหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีกระบวนการทำงาน
ที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
               จุดเริ่มต้นที่ทำให้สังคม องค์กร ชุมชน หรือระบบต่าง ๆ มีคุณภาพได้นั้นมักจะเริ่มจากปัจจัย
พื้นฐานสำคัญคือ
คนมีคุณภาพ” แทบทั้งสิ้น คนคุณภาพในที่นี้หมายถึงคนดีและเก่ง ใช้ความดี
เป็นกรอบ และใช้ความเก่งเป็นพลังขับเคลื่อนให้องค์กร หรือชุมชนนั้นอยู่รอดและพัฒนาต่อไปได้
ดังนั้นยอดปรารถนาของสังคมหรือขององค์กรปัจจุบัน   จึงพุ่งตรงไปสู่การแสวงหาและพัฒนาสมาชิก
ให้เป็นคนคุณภาพ   ปัจจัยที่จะทำให้มีคนคุณภาพได้ก็คือการศึกษา และประเทศไทยก็ให้ความสำคัญ
กับการศึกษาเช่นกัน   โดยกำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษา    มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 เป็นเครื่องมือด้วยความมุ่งมั่นและมุ่งหวังว่าจะนำไปสู่การจัดการศึกษาของชาติให้มี
คุณภาพ   สามารถพัฒนาคนไทยให้เป็นคนคุณภาพ   คือเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ  
สติปัญญา  ความรู้และคุณธรรม    มีจริยธรรมและวัฒนธรรม    ในการดำรงชีวิตและสามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข   หรือที่เรียกว่าเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข กล่าวโดยสรุปก็คือ
ต้องการให้การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ    เพื่อทำให้คนหรือผู้ได้รับการศึกษามีคุณภาพ นั่นเอง 
               มีข้อสงสัยว่า
คนคุณภาพ”    มีลักษณะอย่างไร   หรือคนอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนมี
คุณภาพสิ่งที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นคนคุณภาพนั้น คือเป็นคนดีและเก่ง   แต่ก็ยังสงสัยต่อไปว่า 
เก่งอย่างไร ดีอย่างไร   ถ้าจะอธิบายก็สามารถอธิบายได้หลายลักษณะ   หลายมิติ  ขึ้นอยู่กับ
จุดประสงค์และประสบการณ์   ในที่นี้ขออธิบายเกี่ยวกับคนคุณภาพโดยบูรณาการลักษณะ
ของคนเก่งและดีในมิติที่เรียกว่านิสัยแห่งคุณภาพ


               นิสัยหรือการประพฤติปฏิบัติเป็นประจำจนเคยชิน โดยมุ่งให้เกิดคุณภาพนั้นขอเสนอ 8
ประการดังนี้
              
1. รักความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งร่างกาย จิตใจ และการปฏิบัติงานเป็นพื้นฐาน
ที่จะนำไปสู่คุณภาพด้านอื่น ๆ มี 2 ลักษณะคือ  1) การรักษาความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย
ของตนเอง เช่น มีปัจจัยสี่และของใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตขจัดหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ต่อร่างกาย ทำความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ให้น่าสัมผัส น่าอยู่ น่าใช้ แต่งกายภูมิฐาน
เหมาะกับกาลเทศะอยู่เป็นนิจ   เข้าลักษณะคุณนายสะอาด   2) การรักษาความสะอาดเป็นระเบียบ
เรียบร้อยของสถานที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน เช่น  จัดบ้านให้สะอาด   ร่มรื่น  มีความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย น่าอยู่ สร้างความอบอุ่นในครอบครัว ขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากบ้านหรือสถานที่ทำงาน
จัดสิ่งของเป็นหมวดหมู่   หยิบใช้สอยได้ง่าย  อุปกรณ์   เครื่องใช้  สถานที่   สะอาดน่าอยู่  น่าใช้
รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องใช้ทุกอย่าง และทุกคนปฏิบัติจนเป็น
นิสัย   แนวปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้   ก็คือ  กิจกรรม 5   ในบ้านหรือกิจกรรม 5ส ในหน่วยงาน
นั่นเอง
              
2. ปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง มีนิสัยหรือทำงานไม่ดีก็ปรับปรุงให้ดี มีนิสัยหรือทำงานดี
ก็ปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ป้องกันและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพิ่มวุฒิภาวะทางอารมณ์
(EQ) ถ้าเป็นการปฏิบัติงาน ก็ปรับปรุงและพัฒนาความรู้และทักษะการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น และมีความต่อเนื่อง รักอาชีพที่สุจริตและพัฒนาวิชาชีพของตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
เป็นที่พึ่งขององค์กรได้ (ขาดเราเขาจะรู้สึก) ไม่สร้างภาระให้คนอื่น ถ้าเป็นครูก็ต้องเป็นครูอาชีพ”
              
3. ทำงานเป็นทีม คนแต่ละคนไม่ได้เก่งทุกเรื่อง หรือทำทุกอย่างได้ ต้องร่วมกันทำงาน
ประสานกันอย่างเป็นระบบ กำหนดและปฏิบัติหน้าที่ได้ชัดเจนถูกต้อง เปรียบเสมือนทีมฟุตบอลที่ดี
ความสำเร็จของทีมย่อมมาจากการสนับสนุนดี    ผู้ฝึกสอนดี   ผู้จัดการทีมดี  ผู้เล่นดี   และทุกคนทำ
หน้าที่ของตนเองได้ดี   หลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานในลักษณะข้าเก่งคนเดียว   ให้ความสำคัญและ
ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ให้เกียรติและปรับสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน   รวมทั้ง
ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ
              
4. มุ่งเน้นกระบวนการ    ฝึกนิสัยการทำงานที่ให้ความสำคัญกับสาระและกระบวนการ
มากกว่าการให้ความสำคัญกับรูปแบบ เพราะจะทำให้กิจการพัฒนาและมีคุณภาพ   เช่น ผู้บริหาร
การศึกษา เห็นว่า ระบบบริหารคุณภาพแบบมุ่งทั้งองค์การ   เพื่อจะได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่ทันสมัย
ได้รับการประกันคุณภาพ    ทั้งที่ไม่รู้ว่ากระบวนการและเจตนารมณ์ของระบบ TQM, ISO,
กิจกรรม 5ส คืออะไร อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การจัดอบรมเรื่องการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
วิทยากรที่ให้การฝึกอบรมก็บรรยายท่องตำรา หรือสั่งให้ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรมนั้นกิจกรรมนี้
ไม่นำกระบวนการฝึกอบรมที่เน้นผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางมาใช้   ผลที่ได้ก็คือได้ผ่านการ
ฝึกอบรมและมีใบประกาศรับรอง   นำไปสะสมอ้างเป็นผลงาน โดยที่การสอนยังใช้วิธีเดิม
(อาจท่องจำหลักการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้ แต่ไม่นำมาปฏิบัติ) ดังนั้นคนคุณภาพ
ต้องเป็นคนที่เน้นกระบวนการ
              
5. ศึกษาและฝึกอบรมอยู่เสมอ ฝึกนิสัยการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้   ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน
แสวงหาแหล่งความรู้ใหม่ ๆ ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะประสบการณ์ใหม่ การได้รับการศึกษา
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง   เป็นบุคคลที่มีค่าขององค์กร การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกหน
ทุกแห่ง ทุกเวลา และทุกเพศทุกวัย เมื่อเรียนรู้แล้วสามารถนำความรู้นั้นมาสร้างองค์ความรู้ใหม่
และนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
              
6. สร้างความเชื่อมั่นเพื่อประกันคุณภาพ   ฝึกการทำงานที่เป็นระบบ   ทำอะไรต้อง
กำหนดเป็นแผน มีวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจน และปฏิบัติตามแผนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอาจกล่าว
ได้ว่าเป็นการคิดอย่างมีแผน ทำอย่างมีแผน   ซึ่งตรงข้ามกับการคิดมั่ว ๆ และทำอย่างมั่ว ๆ
ถ้าเป็นครูที่มีคุณภาพ จะต้องสร้างความเชื่อมั่นด้วยจัดทำแผนการสอน และการสอนตามแผน 
ผู้บริหารสถานศึกษาก็ต้องใช้แผน (แผนกลยุทธ์) เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ  
              
7. การร่วมคิดร่วมทำ เปิดใจตัวเองให้กว้าง ไม่กีดขวางความปรารถนาดีของคนอื่น
ที่จะเข้ามาช่วยเหลือ ร่วมคิดร่วมทำ   ขณะเดียวกันก็ฝึกจิตใจตนเองให้เป็นจิตสาธารณะ (ทำ
ประโยชน์ให้ส่วนรวม)   และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง ร่วมคิดร่วมทำ  และร่วมรับ
ผิดชอบในการทำหน้าที่ต่างๆ เช่น ร่วมเป็นคณะกรรมการต่างๆ ในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน
และร่วมกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่นั้น เป็นต้น
              
8. ทำให้ถูกตั้งแต่เริ่มต้น (Right the First Time) และทำให้ถูกต้องทุกครั้ง การทำ
ให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ต้องตามแก้ปัญหาในภายหลัง   เพราะถ้าเราทำอะไรไม่ถูกตั้งแต่แรก
การทำขั้นต่อไปถึงแม้จะถูกต้อง แต่ก็ถูกในสิ่งที่ผิด ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นดังที่เห็นตัวอย่าง
ของข้าราชการที่ถูกลงโทษ เพราะการทำผิดพลาดตั้งแต่แรกทั้งเรื่องเงิน เรื่องชู้สาว การก่อสร้าง
ที่ผิดจากแบบแผน   ทำให้ตึกพังเสียหาย หรือเรื่องอื่น ๆ มากมาย นิสัยแห่งคุณภาพจะเกิดขึ้นได้
บุคคลนั้นต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ   ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมี
สาระบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ทุกคนมุ่งหวังว่าจะนำสู่การ
ปฏิบัติเป็นรูปธรรม   บรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา   ขณะเดียวกันเมื่อคนไทยมีนิสัย
แห่งคุณภาพ   ก็จะเป็นปัจจัยพื้นฐานและเป็นพลังของการพัฒนาด้านอื่น ๆ  รวมทั้งการพัฒนา
การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย

บทความฐานข้อมูลภาษาไทย (3)

ครูของครู กับครูอาชีพ

1.   ครูอาชีพ กับ อาชีพครู        
          พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวถึงครูอาชีพว่า คือ ครูที่เป็นครู
ด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ มีความเป็นครูทุกลมหายใจตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นครูที่รักและ
หวงแหน ห่วงใย  อาทร   ต่อนักเรียน   ต่อศิษย์ดุจลูกในไส้ของตนเอง   จะทำทุกวิถีทางที่จะให้ศิษย์
เป็นคนดี   ไม่ยินยอมให้ศิษย์เป็นคนไม่ดีเป็นอันขาด   จะติดตามสอดส่องศิษย์ทุกเมื่อเชื่อวันโดยไม่
ละทิ้งและมีความสุขมากในการที่ได้เกิดมาเป็นครู   รักเกียรติเทอดทูนสถาบันครูอย่างภาคภูมิใจ 1
และ ดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้สรุปว่า ครูอาชีพ คือครู ที่มีความพร้อม
ในทุก ๆ ด้านที่จะเป็นครู มีความประพฤติดี วางตัวดี   เอาใจใส่ดูแลศิษย์ดี   มีวิญญาณของความ
เป็นครู   และปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู 2

          ส่วนคำว่า อาชีพครู พลเอกเปรม   ติณสูลานนท์   ได้อธิบายว่า   อาชีพครู คือครูที่ใช้วิชาที่
ร่ำเรียนมาเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพ   ไม่ได้เป็นครูด้วยความรักสมัครใจ   ครูประเภทนี้ไม่
จำเป็นต้องเรียนรู้วิชาครู ไม่จำเป็นต้องมีความเข้าใจวิชาที่ตนสอนมากนัก   แค่สอนจบไปวัน ๆ
หนึ่งก็พอแล้ว   ศิษย์จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ช่างศิษย์ ไม่สนใจ ขอให้มีเงินเดือนตามวิทยฐานะ
ก็พอ ศิษย์จะดีไม่ดีไม่เป็นธุระ   บางคนก็หาอาชีพเสริมทำ  เช่น รับจ้างสอนพิเศษ  บางรายหนัก
ลงไปอีกถึงรับจ้างแทงหวย   จนแม้แต่ขายยาบ้าก็มี ครูประเภทนี้รัฐได้ประโยชน์ตอบแทนไม่
คุ้มค่าและหลายรายนำความเสียหายมาสู่สถาบันอีกโสดหนึ่งด้วย 3   คนที่มีลักษณะเป็นอาชีพ
ครู คือคนที่มายึดการเป็นครูเป็นอาชีพเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนขาดจิตวิญญาณของความเป็นครู   
ซึ่งขณะนี้ครูของไทยมีลักษณะอาชีพครูเป็นจำนวนมาก   ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นเงื่อนไข
ที่จะทำลายความหวังของการปฏิรูปการศึกษา    เพราะครูคือความหวังที่จะนำสู่ความสำเร็จ
ของการปฏิรูปการศึกษา

          ทุกคนได้ให้ความสำคัญกับครูอาชีพ    และจากเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542   ก็ให้ความสำคัญและถือว่าครูเป็นผู้มีความสำคัญต่อการจัดกระบวนการ
เรียนรู้    เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศชาติ   จึงมีบทบัญญัติ
ว่า   ครูซึ่งเป็นบุคลากรวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน   และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
ต้องผ่านระบบการควบคุมเพื่อให้เป็นครูอาชีพ   เช่น   การให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ   มี
องค์กรวิชาชีพครู   มีมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ   รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
ครู   เพื่อให้เป็นครูอาชีพอย่างแท้จริง โดยมีกลไกที่จะส่งเสริมให้ครู มีการพัฒนาศักยภาพอย่าง
ต่อเนื่อง มีระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู   และกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน มีค่า
ตอบแทน  สวัสดิการ   และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับ
ฐานะ ทางสังคมและวิชาชีพเป็นการเฉพาะที่กล่าวมาข้างต้น   เพื่อชี้ให้เห็นว่าขณะนี้ปัญหา
ของคุณภาพการศึกษาส่วนหนึ่งมาจากคนที่มีอาชีพครู     และมีความพยายามที่จะกำหนด
แนวทางที่แก้ปัญหาเหล่านี้

2. ครูของครู กับ ครูอาชีพ
          ครูอาชีพตามความหมายที่กล่าวมา   เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการและคาดหวังว่าจะมีจำนวน
มากขึ้น   เมื่อผลแห่งการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม   
แต่ยังมีเงื่อนไขบางประการที่น่ากังวลก็คือในระบบการผลิต    พัฒนาครูและองค์กรวิชาชีพ
ที่กำหนดให้ครูทั้งของรัฐและเอกชน    มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ    แต่มีข้อยกเว้นสำหรับ
คณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา    ซึ่งในกลุ่มนี้จะรวมถึงคณาจารย์ที่ทำหน้าที่
สอนครู หรือที่เรียกว่า ครูของครู นั่นเอง   ถ้าพิจารณาจากสภาพปัจจุบันพบว่าครูของครูเหล่านี้
ยังมีอาชีพครูอยู่จำนวนไม่น้อย ไม่เข้าลักษณะของครูอาชีพอย่างที่พลเอกเปรม   ติณสูลานนท์ 
กล่าวไว้   เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาอดีตนายกรัฐมนตรี นายอานันท์  ปันยารชุน ได้กล่าวถึงการแก้
ปัญหาคอร์รัปชั่นว่าจะแก้ไขได้โดยผู้นำรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีต้องทำเป็นตัวอย่าง   ทำนอง
เดียวกัน   นักเรียนจะเก่งและดีได้ครูต้องเป็นตัวอย่าง    และเมื่อประเทศไทยอยากได้ครูอาชีพ
คนที่สอนครูก็ต้องเป็นครูอาชีพและเป็นตัวอย่างด้วยเช่นกัน   ในเรื่องนี้ส่วนหนึ่งไปเชื่อมโยง
สัมพันธ์กับการมีใบประกอบวิชาชีพครู    เมื่อมีข้อยกเว้นจะมีช่องทางใดบ้างที่จะช่วยกำกับ
ดูแลให้ครูของครูมีมาตรฐานวิชาชีพและเป็นที่พึ่งของลูกศิษย์   ไม่ใช่ศิษย์เป็นที่พึ่ง (ประโยชน์)
ของครู   น่าจะอยู่ที่การกำหนดให้มีระบบกระบวนการผลิต   การพัฒนาครู  คณาจารย์และ
บุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
(มาตรา 52)   การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา   การพัฒนามาตรฐาน
และจรรยาบรรณของวิชาชีพ (มาตรา 56)   และอาศัยอำนาจของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(มาตรา 34)    รวมทั้งมาตรการที่ให้ความเป็นอิสระและการจัดให้สถาบันผลิตครูเป็น
หน่วยงานในกำกับของรัฐตามมาตรา 36   ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง
เหมือนครูที่สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือไม่   ยังเป็นที่สงสัยจากประชาชนทั่วไป

3. จิตสำนึกและวิญญาณของคนสอนครู
          คณาจารย์ที่สอนครูในอดีตมีจำนวนมาก ที่มีลักษณะครูอาชีพเป็นครูด้วยใจรัก    เป็นครู
ด้วยจิตและวิญญาณ   มีความห่วงใยต่อศิษย์ดุจลูกของตนเอง    แต่เมื่อเวลาผ่านมามีกระแส
แห่งการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มากระทบทำให้มีครูอาชีพที่เป็นปูชนียบุคคลลดน้อยลงไป
อย่างน่าเป็นห่วง   ด้วยสาเหตุอะไรนั้นเป็นเรื่องน่าคิด แต่ก็ไม่อยากให้คิดมากจนเสียเวลาที่จะ
เตรียมระบบใหม่ที่จะสร้างครูของครูให้เป็นครูอาชีพ    เพื่อที่จะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดี
ส่งต่อไปยังลูกศิษย์ที่เป็นครู   และถูกถ่ายทอดพันธุกรรมแห่งความดีไปยังผู้เรียนด้วยจิตสำนึก
และวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง

          การสร้างจิตสำนึกและวิญญาณครู   ทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์   เนื่องจาก
ในระยะ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อาชีพครูค่อนข้างได้รับการดูถูกดูแคลนจากสังคมเป็นอย่างมาก
น่าวิตก 4   ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น คนดีคนเก่งไม่เรียนครู คณาจารย์ที่สอนครูย่อหย่อน
ในการปฏิบัติหน้าที่   ภาระงานของครูมีมาก   แรงจูงใจค่อนข้างต่ำ    ระบบการพัฒนาไม่มี
ประสิทธิภาพ    การอบรมพัฒนาไม่ตรงตามที่ต้องการ   เป็นต้น    จิตสำนึกและวิญญาณครู
จุดเริ่มต้นน่าจะอยู่ที่การสร้างศรัทธา   คำว่าศรัทธาในที่นี้มีความหมาย 3 มิติ คือศรัทธาต่อ
ตนเอง   ต้องเชื่อและศรัทธาในความรู้ความสามารถของตนเองว่าจะเป็นครูที่ดีได้ เป็นตัวอย่าง
ให้กับสังคมได้ กระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และวิเคราะห์คัดสรร
ความรู้มาใช้ประโยชน์ได้   และมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างภาพลักษณ์ของครูที่ดีได้  
ประการที่สองคือ ศรัทธาต่ออาชีพครู รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นครูที่เป็นวิชาชีพ
ชั้นสูง   เห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่เป็นครู   ประการที่สามคือ   ศรัทธาต่อองค์กร    รักษาชื่อเสียง
ของสถานศึกษาและองค์กรวิชาชีพครู   ประพฤติและปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพครู  ถ้าครูทุกคน    และครูของครูทุกคนมีความศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นจิตสำนึกและ
วิญญาณของความเป็นครู    และสิ่งที่ดีที่เป็นแบบอย่างของสังคมได้ก็จะขยายและถ่ายทอด
ไปสู่เยาวชนชั่วลูกชั่วหลาน เสมือนกับผู้นับถือศาสนาไม่ว่าศาสนาใดจุดเริ่มก็อยู่ที่ความศรัทธา
เมื่อศรัทธาก็ประกาศตนเป็นผู้นับถือศาสนานั้น และปฏิบัติตาม คำสั่งสอนของศาสนา คำภีร์
หรือพระธรรมวินัยต่อไป   เมื่อครูศรัทธาต่อวิชาชีพครูจะทำให้เกิดพลังแห่งความ   มุ่งมั่น
สร้างสรรค์วิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงตาม เจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้

4. อาชีพครูกับผู้เรียน
          ถ้าผู้เรียนมีครูที่เป็นเพียงผู้ยึดอาชีพครูเพื่อเลี้ยงชีพตนเองจะมีสิทธิเรียกร้องอะไรหรือไม่
กลไกควบคุมในปัจจุบันมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะขจัดคนที่มีอาชีพครูอย่างไร ถ้าพิจารณา
จากกฎหมายสูงสุดของประเทศคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
แล้วจะพบว่าหมวด 5 ที่กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 81 กำหนดให้รัฐต้อง
จัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและ
ให้พัฒนาวิชาชีพครู    ซึ่งนำไปสู่การบัญญัติสาระดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็น่าเชื่อว่าจะเป็นกลไกที่จะสร้างครูอาชีพได้ และถ้าสร้างจากวัตถุดิบ
ใหม่ (ครูใหม่) ที่พอตกแต่งให้เข้าระบบที่วางไว้ก็น่าจะมีความหวัง แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ยังมีครูและ ครูของครูที่มีวัฒนธรรมการทำงานเข้าข่ายอาชีพครูเป็นจำนวนมาก เราจะทำ
อย่างไร   เพราะบุคคลเหล่านี้จะหา   ผลประโยชน์จากผู้เรียนอย่างเป็นระบบ   ไม่ว่าจะเป็น
การขายสินค้า ขายชีทความรู้เก่า ๆ การหลีกเลี่ยงการสอนตามหน้าที่แต่กระตือรือร้นใน
การสอนพิเศษ    ทำโครงการพิเศษเพื่อให้ได้เที่ยวต่างประเทศฟรีโดยไม่สนใจว่าผู้เรียน
จะเดือดร้อน   กู้ยืมเงินมาอย่างไร    สถาบันบางแห่งกลายเป็นขุมทรัพย์ของบุคคลเหล่านี้
ที่คนอื่นแตะต้องไม่ได้ แทนที่จะสร้างสถาบันให้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา   จึงถึงเวลาแล้ว
ที่เราจะต้องสร้างระบบใหม่    เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้เรียนอย่างแท้จริง   แนวคิด
เรื่องการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจะได้ไม่กลายเป็นว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งขุมทรัพย์
ของคนที่ยึดอาชีพครู

5. สร้างกระแสรักษาครูดี - ครูอาชีพ
          แนวพระราชดำริด้านการศึกษา 5 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำริ
ถึงครูว่า “… ครูจะต้องเป็นผู้ประพฤติตนดีทั้งด้านวิชาการ คือต้องฝึกฝนตนให้มีความชำนาญ
ในด้านความรู้และวิธีสอน ส่วนด้านความประพฤติจะต้องเป็นคนที่พร้อมทั้งในด้านจิตใจและ
การปฏิบัติ     เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างแก่ผู้พบเห็น      เมื่อลูกศิษย์ได้เห็นและประทับใจในความ
สามารถและความดีของครูก็จะประพฤติตนตามแบบอย่าง…..” และยังมีพระราชดำริเกี่ยวกับ
ภารกิจและแนวทางการปฏิบัติตนของครูอีกหลายประการที่ควรนำมาสร้างกระแสให้ครูได้
ตระหนักและมีจิตสำนึกของความเป็นครูที่ดี 6

          สิ่งที่จะผลักดันให้สังคมไทยมีครูดี ครูอาชีพจำนวนมากขึ้น   อยู่ที่การสร้างกระแสให้
ทุกคนตระหนักและรักษาครูที่ดีไว้   นอกจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวแล้ว  ยังมีวิธีการต่าง ๆ  เช่น  การยกย่องชมเชยครูดี   ให้โอกาสและส่งเสริมครูทุกคน
ได้ทำหน้าที่ครูอาชีพอย่างแท้จริง   สกัดกั้นสิ่งที่เป็นบ่อนทำลายและนำความเสื่อมเสียมาสู่
วิชาชีพครู   ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสร้างระบบการผลิต   พัฒนาครูและ
ประเมินครูให้มีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง ทั้งนี้ ผู้ปกครอง
นักเรียน  ชุมชน   และองค์กรต่างๆ   ต้องร่วมกันสร้างกระแสอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ในที่สุดครูดี - ครูอาชีพก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น อาชีพครูหรือผู้รับจ้างสอนก็จะค่อย ๆ ลด
จำนวนลง ความหวังของการปฏิรูปการศึกษาก็จะเป็นจริงได้ในไม่ช้า

เชิงอรรถ
          1 พลเอกเปรม ติณสูสานนท์. ทางเลือกของครู. เอกสารอัดสำเนา, 2543 หน้า 1
          2 พนม พงษ์ไพบูลย์. ครูอาชีพ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2543 หน้า 6
          3 พลเอกเปรม ติณสูสานนท์. อ้างแล้ว. หน้า 2
          4 สมเชาว์ เกษประทุม. “ครูพันธ์ใหม่” . มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 24 กรกฎาคม 2543
หน้า 10.
          5 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู. คุณธรรมและจิตสำนึกของข้าราชการครู.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ศรีเมืองการพิมพ์, 2542. หน้า 5
          6 อ่านเพิ่มเติมใน สำนักงาน ก.ค.คุณธรรมและจิตสำนึกของข้าราชการครู” อ้างแล้ว.

บทความฐานข้อมูลภาษาไทย (2)


การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา

1. ความนำ

          กระแสแห่งการกระจายอำนาจทั้งด้านการปกครอง การบริหารและการจัดการในด้านต่าง ๆ ได้นำไปสู่การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์กรระดับต่าง ๆ รวมถึงองค์กรทางด้านการศึกษา ซึ่งได้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการบริหารการศึกษาจากการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางให้กระจายอำนาจไปสู่หน่วยปฏิบัติ ดังจะเห็นจะได้จากแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดนโยบายการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา ไว้ชัดเจน แต่ก็พบว่าไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการจัดทำร่าง พ.ร.บ.การกระจายอำนาจการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและวิเคราะห์ว่าปัญหาการจัดการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของประเทศไทยในขณะนั้นมี 8 ประการคือ1   1) การรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง   2) ความซ้ำซ้อนของการจัดการศึกษาระดับจังหวัด/อำเภอ   3) การจัดการศึกษาขาดเอกภาพ 4) ไม่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ 5) ประชาชนมีส่วนร่วมน้อย 6) การจัดการศึกษาไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน   7) การจัดการศึกษาขาดความต่อเนื่อง   8) ขาดการบูรณาการระหว่างการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จึงกำหนดให้มีการกระจายอำนาจด้านนโยบายและแผน ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการเงินและพัสดุ ด้านบุคลากร และด้านวิชาการ ในที่สุดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทาง การเมือง เปลี่ยนรัฐบาล การดำเนินการได้หยุดชะงักลงจนถึงปี พ.ศ. 2539   ได้มีกระแสของการปฏิรูปการศึกษาเข้มข้นขึ้นอีกครั้ง ถึงขั้นการนำสาระทางการศึกษามาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและปัจจุบันการกระจายอำนาจได้กำหนดชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าแนวโน้มการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษามีความเข้มและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542   มีเจตนารมณ์เพื่อให้เป็นกฎหมายแม่บท ในการบริหารและการจัดการศึกษา เน้นการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและให้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปยังหน่วยปฏิบัติคือสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา ให้กระจายอำนาจทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษาโดยตรง

         พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542   ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษา รวมทั้งการเก็บภาษีเพื่อการศึกษา

         ดังนั้นการบริหารและการจัดการศึกษาของประเทศไทย จึงมีแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือหน่วยงานระดับปฏิบัติมีอำนาจตัดสินใจ และสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในรูปแบบของคณะกรรมการขององค์กรทางการศึกษาระดับต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้ทรัพยากรบุคคลของชาติ มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้และคุณธรรม รวมทั้งการอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุขต่อไป

         การกระจายอำนาจในทางการศึกษา จะเน้นการกระจายอำนาจจากหน่วยงานส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้สถานศึกษามีอิสระในการตัดสินใจให้มากที่สุดตามระบบการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน (School-Based Management : SBM) และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง

2. หลักการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา
          การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา หมายถึงการที่อำนาจการตัดสินใจในการดำเนินงานต่าง ๆ กระจายจากส่วนกลางไปยังหน่วยงานรองลงไป มี 2 ลักษณะคือ แบบมอบอำนาจ หมายถึงการมอบอำนาจตัดสินใจบางส่วนให้แก่หน่วยงานรองลงไปตัดสินใจ และการกระจายอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ คือหน่วยงานย่อยมีความเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจในการบริหารและรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติภารกิจของตนเอง มีอิสระในเชิงบริหารและการจัดการ ส่วนกลางควบคุมเชิงกฎหมายหรือเชิงนโยบายเท่านั้นในทางการศึกษาการกระจายอำนาจมีลักษณะของการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการบริหารและการจัดการจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษา เพื่อให้สามารถตัดสินใจในระดับของหน่วยปฏิบัติได้แก่ เขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษานำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติโดยรวม
          จากการศึกษาการบริหารและการจัดการศึกษาของต่างประเทศ ของ ดร.กมล สุดประเสริฐ พบว่าการกระจายอำนาจมีหลักการสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ หลักการนิติบัญญัติ หลักการมีส่วนร่วม หลักการความเป็นกลางทางการเมือง หลักการความเป็นมืออาชีพทางการศึกษา หลักการความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ และหลักการประกันคุณภาพการศึกษา และเสนอว่าการบริหารและการจัดการศึกษา ควรดำเนินการตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542    โดยให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและ การจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณการบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา
        หลักการนิติบัญญัติ หมายถึง การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการต้องมีกฎหมายรองรับ เพื่อเป็นหลักประกันในการนำไปปฏิบัติให้บรรลุผล
        หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามา มีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษาในรูปของคณะกรรมการการศึกษา
        หลักความเป็นกลางทางการเมือง มีความเป็นอิสระ ปลอดการแทรกแซงทางการเมือง คณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องไม่มาจากตัวแทนทางการเมือง
        หลักความเป็นมืออาชีพ บุคคลที่เข้ามามีบทบาททางการศึกษาต้องมาจากบุคคลที่มีประสบการณ์และมีทักษะทางอาชีพ เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพทางการศึกษา และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ
        หลักความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ มอบอำนาจการตัดสินใจให้กับคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด
        หลักการประกันคุณภาพการศึกษา โดยจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษามีการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาภายใน และจัดให้มีองค์กรภายนอกเข้ามาประเมินคุณภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาและจัดทำรายงานประจำปีไปยังผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. การกระจายอำนาจตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
          เนื่องจากการศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของสังคม ชุมชน องค์กรเอกชนต่าง ๆ และกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษาเพื่อให้มีอิสระในการบริหารและการจัดการ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาตนเองตามธรรมชาติของผู้เรียนและเต็มตามศักยภาพ และได้กำหนดให้สถานศึกษา จัดกระบวนการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลตามที่กล่าวมาข้างต้นจึงได้กำหนดบทบาทของสถานศึกษาไว้ครบทุกด้าน เช่น แนวการจัดกระบวนการเรียนรู้ การประเมินผู้เรียน การจัดทำสาระของหลักสูตร
การบริหารวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไป การจัดระบบการประกันคุณภาพภายใน การระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชน การให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจปกครองดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ให้อิสระในการบริหารงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษา เป็นต้น
          ถ้าเป็นสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ได้กำหนดให้ดำเนินกิจการโดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการของตนเองได้อย่างคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ถ้าสถานศึกษาที่จัดตามความต้องการและความชำนาญของกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐให้จัดเป็นการศึกษาเฉพาะทาง โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ ซึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ในกฎกระทรวง

4. สรุป
          การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา เป็นแนวทางการบริหารและจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจไปยังหน่วยปฏิบัติและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุก ๆ ด้านรวมทั้งด้านการศึกษา โดยกำหนดให้มีกฎหมายและต่อมามีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีหลักการและกระบวนการจัดการศึกษาที่เน้นให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป และกระทรวงมีหน้าที่กำกับดูแล เฉพาะด้านการกำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรและติดตามตรวจสอบและประเมินผลการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเท่านั้น ถ้าเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาจะมีการกระจายอำนาจแบบมอบอำนาจการตัดสินใจ และความรับผิดชอบไปยังคณะกรรมการฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง แต่ถ้าเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา และสถานศึกษาเอกชนจะมีความเป็นอิสระตามกฎหมายการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ เป็นการกระจายอำนาจแบบเบ็ดเสร็จและมีอิสระมากกว่าสถานศึกษาประเภทอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา

ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
5 มีนาคม 254

บทความ ฐานข้อมูลภาษาไทย 1




บทความฐานข้อมูลภาษาไทย (1)


จากการวิเคราะห์บทความ “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ”
จากบทความ “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ” ของดร.จำลอง นักฟ้อน สรุปเนื้อหาได้ว่า บทความได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่เหมาะสม ของการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพในอนาคตเป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญยิ่งจึงต้องวางมาตรฐานและคุณสมบัติของผู้ที่จะก้าวขึ้นมาทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติด้านการศึกษา เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพได้ในอนาคตนั่นคือเด็กและวัยเรียนรู้ เริ่มต้นจากผู้บริหารเป็นผู้ควบคุมดูแลพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ อีกทั้งสภาพแวดล้อมทั้งหมดของเด็ก ผู้ที่มีคุณลักษณะที่มีอุดมการณ์และวิสัยทัศน์ที่ไกลกว่าผู้อื่น
บทความเรื่อง “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ” ของดร.จำลอง นักฟ้อน ท่านกล่าวไว้อยู่ ๓ ประการสำคัญคือ
๑. คุณลักษณะส่วนตัว
๒. ทักษะและความรู้
๓.ความสามารถ ประสบการณ์
ประการแรก เป็นเรื่องของคุณลักษณะส่วนตัวของผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรตามที่ซึ่งเป็นผู้ที่มีลักษณะ ๑๐ ข้อซึ่งได้แก่ ๑) มีความรับผิดชอบสูง ๒) มีความขยันหมั่นเพียร ๓) มีความอดทน/อุสาหะ ๔) มีความซื่อสัตย์สุจริต ๕) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ๖) มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์/กระตือรือร้นในการทำงาน ๗) มีทักษะในการวินิจฉัยสั่งการ ๘) มีการรักษาระเบียบวินัยที่ดี ๙) มีความตรงต่อเวลา/การบริหารเวลา ๑๐) มีบุคลิกภาพที่ดี
จึงกล่าวได้ว่าลักษณะเฉพาะของผู้บริหารมืออาชีพนั้นคือลักษณะผู้ที่มีความพร้อมและเหมาะสมในการเป็นผู้นำผู้ที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้พบเห็น เนื่องจาก ๑๐ ประการที่กล่าวมานั้นหากจะว่าไปแล้วเปรียบเสมือนคุณสมบัติเบื้องต้นที่ผู้ปฏิบัติงานที่ดีทั่วไปพึงมี เพื่อที่มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ได้ในอนาคต ผู้เขียนขอเสนอเพิ่มเติมอีกหนึ่งลักษณะที่ผู้นำและผู้ปฏิบัติงานที่ดีควรจะฝึกนั่นคือเรื่องของ “การมองโลกในแง่ดี คิดบวก” สำหรับผู้นำ ผู้บริหารรุ่นใหม่ แล้วนั่นคือสิ่งสำคัญในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆบนพื้นฐานของจิตสำนึกบริสุทธิ์ โดยผู้นำต้องมีวิญญาณของความเป็นเด็ก (The heart of child) นั่นคือการมองโลกในแง่ดี คิดด้านบวก อยากรู้อยากเห็น แสวงหาความรู้ใหม่ๆเติมเต็มอย่างกระตือรือร้น เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการมุ่งแก้ปัญหามากกว่าหาตัวผู้กระทำผิด เพราะนั่นคือการบ่อนทำลายขวัญกำลังใจของพนักงาน
ประการที่สอง ด้านทักษะและความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของ ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพดังที่ท่านดร. จำลองได้กล่าวไว้นั้นจะต้องมี๘ประการอันได้แก่ ๑) ความรู้ความสามารถในเชิงวางแผน ๒) ความรู้ความสามารถในเชิงผู้นำ ๓) ความรู้ความสามารถในการเป็นนักจัดการ ๔) ความรู้ความสามารถในการเป็นนักวิจัยพัฒนา ๕) การเป็นนักประสานงานและประสานประโยชน์ ๖) มีความรู้ความสามารถในเชิงการสื่อสาร ๗) ความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๘)เป็นผู้มีพลังหรือศักยภาพที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง
หากว่าทั้งหมด๘ประการที่กล่าวมารวมอยู่ในตัวผู้บริหาร กล่าวว่าได้ขยับมาอีกขั้นของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในอนาคต ซึ่งการเป็นผู้บริหารที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ควรเป็นผู้ที่รอบรู้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กลยุทธ์ในการวางแผนจัดการบริหารทั่วไปรวมถึงทรัพยากรมนุษย์นั้นซึ่งเป็นเสมือนฟันเฟืองของเครื่องจักรอันจะก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยการเป็นนักประสานงานประสานผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างสมดุล การใช้สื่อสารที่มีศิลปะ สามารถจูงใจให้พวกเขาปฏิบัติงานให้กับองค์กรได้อย่างเต็มกำลังและเต็มใจ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเบื้องต้นด้วยตนเองซึ่งเป็นอีกสิ่งสำคัญของผู้นำยุคใหม่ ทั้งพร้อมที่จะนำศักยภาพทั้งหมดนั้นออกมาใช้ให้เป็น อย่างเหมาะสมแก่เวลาสถานการณ์
ประการสุดท้ายได้แก่ความสามารถ ประสบการณ์หากผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการเก่งคิด เก่งคน และเก่งงานและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของตนอง และมีวิสัยทัศน์นั้นๆร่วมที่สมาชิก การใช้สิ่งเหล่านั้นมาช่วยกันผลักดันสานฝัน ผนวกเข้ากับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ตรงจากระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ และส่วนประสบการณ์ทางอ้อมอาจจะได้แก่ ผลงานทางวิชาการ/เอกสาร/การวิจัย หรือการจบการศึกษาจากด้านการบริหารการศึกษาโดยตรงซึ่งเป็นอีกสาขาวิชาที่จัดให้มีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อได้เพื่อประโยชน์ในการบริหารพัฒนาการศึกษา กลั่นกรองความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ผลิตนักบริหารการศึกษาที่พร้อมที่จะทำงานด้านพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะ อีกทั้งความสามารถในการเป็นนักวิจัยพัฒนา เพื่อเสาะแสวงหาความรู้ นวัตกรรมและรูปแบบใหม่ ๆในส่วนที่สองว่าด้วยเรื่องทักษะของการเป็นผู้บริหาร ดังนั้นไม่ว่าเป็นผู้บริหารมือใหม่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารเต็มตัวหากมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงการที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศชาติในฐานะผู้นำที่มีภาวะผู้นำผู้บริหารที่ไฟแรงแบบมืออาชีพนั้นก็สามารถทำได้อย่างไม่ยากเลย
อย่างก็ตามผู้เขียนขอเพิ่มเติมเพื่อการบริหารงานการศึกษาขององค์กรอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล นอกจากผู้บริหารต้อง มีทักษะและความรู้ความสามารถ ดังกล่าวมาแล้วนั้นจึงอยากเน้นย้ำด้านต่างๆที่สำคัญต่อการบริหาร ปกครองของผู้บริหาร ผู้นำที่ดีดังต่อไปนี้
๑.วิสัยทัศน์กว้างไกล
คุณสมบัติของผู้นำที่ถูกพูดถึงมากที่สุดและ คือส่วนสำคัญในด้านทักษะความสามารถที่ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จรู้จักดีและมีอยู่แล้วทุกท่าน แต่นักบริหารที่กำลังต้องการก้าวสู่ตำแหน่งที่เรียกว่าผู้นำ ผู้บริหาร โดยเฉพาะงานบริหารการศึกษาที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศแล้วนั้น ผู้บริหารยุคใหม่จึงต้องศึกษาแล้วนำมาใช้ในการบริหารจัดการนั่นคือ “วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล”
วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหาร สถานศึกษาทุกคนจะต้องมีเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง มาสู่สถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตรเช่นในปัจจุบัน Braun (1991: 26) มิติของวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็น 3 มิติ คือ
การสร้างวิสัยทัศน์ (Formulated Vision) คือ สร้างภาพในอนาคตของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนว่า ประสิทธิผลที่ดีที่สุดของสถานศึกษาที่ต้องการอย่างแท้จริงคืออะไร ทั้งนี้โดยอาศัยทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสังเคราะห์ข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษา
การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Articulated Vision) คือ การที่สามารถสื่อสารให้สมาชิกมีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของตนได้อย่างชัดเจน ยอมรับ และเต็มใจที่จะปฏิบัติงานทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น
การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (Operational Vision) คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติจริงได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้โดยวิธีการหลอมวิสัยทัศน์ของตนลงไปสู่นโยบาย เป้าหมาย แผนงาน โครงการ กิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา และโดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคณะครู
ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่แท้จริงนั้นจะต้องมีกระบวนการลีลาของวิสัยทัศน์ ครบทั้ง 3 มิติคือ คิดได้ (การสร้างวิสัยทัศน์) สื่อเป็น (การเผยแพร่วิสัยทัศน์) และโน้มนำให้มีการปฏิบัติล่วงหน้า (การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์) พร้อมทั้งมีการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง แก้ไขให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบด้วย และการมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทำวิสัยทัศน์เป็น Roadmap ให้ทุกคนในสถานศึกษา ได้ใช้เป็นประทีปนำทางในการปฏิบัติงาน ก็จะสามารถนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

๒.“ศาสตร์” และ “ศิลป์”
สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปทุกๆปี ดังจะกล่าวถึง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ที่ผู้บริหารจะต้องมีเพื่อการปฏิบัติงานบริหารการศึกษาได้อย่างยอดเยี่ยม ตามเป้าหมายและอุดมการณ์ที่ตั้งไว้ ก็จึงควรเปลี่ยนแปลงไปให้ทันยุคทันสมัยด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าการบริหารการศึกษาเรียกได้ว่าเป็นศาสตร์ ที่มีการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการทางสาขาการบริหารการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศมายาวนานพอสมควร เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของหลักการ แนวคิดทฤษฎี และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองเพื่อได้มาซึ่งการพัฒนาการศึกษาของประเทศและผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
ในปัจจุบันนี้ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาจึงเป็นอีกหนึ่งจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ การนำเอาศาสตร์ที่มีมาประยุกต์ใช้ให้เป็นหรือการบริหารอย่างมีศิลปะซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีการแบบฉบับของตนเองต่างกันออกไป เช่น
ผู้บริหารต้องมีความรับผิดชอบ รับผิดชอบในคำพูด ให้คำสัญญาเท่าที่ทำ
ได้เท่านั้น เมื่อทำไม่ได้หรือเกิดความผิดพลาดก็สามารถอธิบายชี้แจงสาเหตุให้ทุกฝ่ายเข้าใจและหมดข้อสงสัย
ผู้บริหารผู้มีสติปัญญา และการตัดสินใจที่ถูกต้อง รวดเร็ว เด็ดขาด
รอบคอบในการสั่งงาน มีวาทศิลป์ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นให้มากที่สุด
ผู้บริหารควรมีศรัทธา บารมี ต่อทุกคนและผู้ร่วมงาน ทำอย่างไรให้
คนเชื่อถือไว้วางใจ และเกิดการกระทำในสิ่งที่ผู้นำ จูงใจให้กระทำ หรือมักเรียกกันว่า บารมี การที่จะสร้างศรัทธา บารมีให้เกิดต้องใช้ความมานะอดทนแสดงความจริงใจต่อผู้อื่นก่อนเสมอ
ผู้บริหาร ต้องเรียนรู้อย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งการ
เรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน เช่นองค์ความรู้ใหม่ๆ เห็นสิ่งใหม่ๆแล้วกลับนำมาใช้ในองค์กร ในหน่วยงาน ใช้สอนหรือแนะนำตามที่ได้ศึกษามาให้เกิดประโยชน์
ผู้บริหารมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อทุกคน สร้างบรรยากาศ
การทำงานที่สดชื่น คือแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้สนุกในการทำงานแล้วจะประสบความสำเร็จสิ่งนี้จะเป็นน้ำล่อเลี้ยงให้การบริหารอย่างมีศิลปะเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ
ผู้บริหารต้องตามให้ทัน ทันคน ทันงาน ทันสถานการณ์ และควรหา
วิธีที่แปลกใหม่ ทดลองใช้อยู่เสมอเนื่องจากยุคสมัยนี้สิ่งต่างๆสถานการณ์รอบข้างเปลี่ยนแปลงแบบรายวันไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ควรต้องตามให้ทัน
๓.คุณธรรม จริยธรรม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลที่ สมศ. หรือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาได้กำหนดไว้ ๖ประเด็นที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรปฏิบัติตามและให้ความสำคัญอันได้แก่
๑ ประเด็นความสุจริต
๒ ประเด็นความยุติธรรม
๓ ประเด็นการใช้ระบบคุณธรรม
๔ ประเด็นการรับ ฟังปัญหา
๕ ประเด็นการมีส่วนร่วมใน การบริหาร
๖ ประเด็นจรรยาบรรณวิชาชีพ
และตามที่ทัศนะนักทฤษฎีจิตวิทยาสังคมและนักการศึกษาทั่วไปมัก กล่าวถึง สรุปได้ ๖ ประเด็น คือ
๑ หลักนิติธรรม ๒ หลักคุณธรรม ๓ หลักความโปร่งใส ๔ หลักการมีส่วนร่วม ๕ หลักความรับผิดชอบ ๖ หลักความคุ้มค่า
ดังที่กล่าวมาข้างต้นหากสังเกตจะเห็นได้ว่าทั้งที่สมศ. กำหนด(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) และทัศนะนักทฤษฎีจิตวิทยาสังคมและนักการศึกษาทั่วไปได้กล่าวถึงนั้นคือการที่ผู้บริหารที่ดีควรปฏิบัติตาม โดยรวมให้มีลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ บริหารงานอย่างโปร่งใส่ ตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ดังนั้นผู้บริหารยุคใหม่ที่ดีควรนำศิลปะการบริหารงานร่วมด้วย เชื่อได้ว่าจะต้องประสบความสำเร็จ ทั้งตัวผู้บริหารเองและองค์กรอย่างแน่นอน
หลักธรรมาภิบาลนั้นสามารถนำไปใช้ในองค์กรต่างไม่ว่าจะภาครัฐหือเอกชน ไม่ว่จะเป็นองค์กรขนาดเล็กใหญ่ หากพูดถึงเรื่องของความซื่อ สัตย์ สุจริตความวางใจซึ่งกันและกัน ของสมาชิกในองค์กร อาจมีการวางแผนร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการประเมินการดำเนินงาน มีนโยบายและรับผิดชอบร่วมกัน โดยเฉพาะจรรยาบรรณของผู้ที่เรียกได้ว่าเป็นข้าราชการด้วย หลักธรรมาภิบาจึงเป็นที่นิยมนำไปใช้ในหน่วยงานต่างๆและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากได้รวบรวมเรื่องของการมีคุณธรรม จริยธรรม เช่น หากเป็นผู้บริหาร ผู้นำจะต้องเป็นที่รักและเคารพของผู้ใต้บังคับบัญชาคือหนึ่งในทักษะการปฏิสัมพันธ์โดยใช้คุณธรรม และเมตตา ส่งผลให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักเคารพ เพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน อีกทั้งเสริมบารมีแก่ตนเอง เกิดประโยชน์ด้านการบริหารงานสั่งงานด้วย

๕.ผู้นำ ผู้บริหารในยุคไอที
เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลง สภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ขึ้นๆลงๆ(โดยเฉพาะช่วงนี้ไม่ค่อยขึ้นมีแต่ลง) แล้วความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ยังทำให้ผู้บริหารยุคนี้ต้องเอาใจใส่และตามให้ทัน ใช้ให้เป็น ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงเริ่มพูดกันถึงเรื่องอินเทอร์เน็ต
ผู้บริหารจึงควรใส่ใจดูแลให้มีการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ใช้ทั่วหน่วยงานได้อย่างทั่วถึงด้วย ให้ความสะดวกในการหาข้อมูลในการปฏิบัติงานของพนักงาน และยังเป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาด้วยตนเองอย่างดีเช่นการหาข้อมูลใน Google.comเป็นที่นิยมใช้กันอย่างมากในการหาสิ่งที่อยากรู้ ได้รู้รอบโลก ครอบจักรวาลเลยทีเดียว ประโยชน์ที่จะได้จากระบบอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้บริหารยุคใหม่อันได้แก่
ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยัง
อีกที่หนึ่งตลอดจนการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลขอคนหมู่มาก ส่งผลให้ผู้บริการองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจต้องสามารถทำการตัดสินใจ ทางเลือกของการแก้ปัญหาและโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การดำเนินงานและปัญหาการ
สื่อสาร ประสานงานที่ซับซ้อนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยลดความไม่แน่นอนและความผิดพลาดใน การตัดสินใจลง
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับเทคโนโลยีสารสนเทศยังมิได้
เป็น ความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงาน
ผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยยังมิได้พัฒนาทักษะทางสารสนเทศสู่
ระดับที่ต้องการ ดังนั้นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นในช่วงเวลาของการตื่นตัวด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีความเข้าใจและทักษะมากขึ้น
ในทางปฏิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ แต่
ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำสารสนเทศมาส่งเสริมศักยภาพในการ ดำเนินงานขององค์การ หากได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็จะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การได้

๖.แรงจูงใจในองค์กร
ไม่เพียงแต่เรื่องของการบริหารงาน บริหารเวลาเท่านั้นที่ต้องใช้ศิลปะ การบริหารคนก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการการทำงานทุกขั้นตอน ต้องใช้กำลังคน ดังนั้นการที่จะนำคน นำเอาความสามารถของคนเหล่านั้นออกมาใช้ให้
ได้แบบเต็มที่และเต็มใจ เรียกว่าได้ว่าการดึงเอาสมรรถภาพออกมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ
เช่นในตัวอย่างทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบาย โดยใช้แนวโน้มของบุคคล ในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งกระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal) Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนาเหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรก ไปสู่ความปรารถนาขั้นสูง ขึ้นไปเป็นลำดับ
นอกจากทฤษฏีต่างๆของนักคิดที่หยิบยกมาไว้ในตำราวิชา EA๗๑๓ หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักสูตรของปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ผู้เขียนอยากขอยกข้อธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้นำที่ดี ผู้ที่มีภาวะผู้นำเมื่อได้นำไปปฏิบัติก็จะเกิดความมั่นคงและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นที่รักและเคารพของผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุคใหม่ในที่สุด นั่นคือ สังคหวัตถุ๔ (Base of sympathy) ธรรมเพื่อให้คน เป็นที่รักของคน ซึ่งได้แก่
ทาน (Giving Offering) คือการให้ เสียสละ แบ่งปันแก่ผู้อื่น เช่น การให้
รางวัล สวัสดิการที่ดี ไม่เป็นคนประหยัดเกินไป ดังคำกล่าวที่ว่า Better a Giver Than a Giver Be (http://www.burg.com/)
ปิยวาจา (Kindly speech) คือ พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ นุ่มนวล เหมาะ
แก่บุคคล เวลา สถานที่ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดในทางสร้างสรรค์ และเกิดกำลังใจ เช่น การควบคุม การจูงใจ อีกทั้งหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ในทุกสถานการณ์
อัตถจริยา (Useful conduct) ทำตนให้เป็นประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญา
ความรู้ความสามารถ กำลังทรัพย์ และเวลา เช่น การพัฒนาคน การบริหารงานตามวัตถุประสงค์ อบรมสัมมนา จัดให้พนักงานอบรมสัมมนากิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก ความผูกพัน ในองค์กรด้วย
สมานัตตตา (Even and equal treatment) คือทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย
วางตนเหมาะสมกับ ฐานะ ตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่ก็ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุข เป็นกันเองไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การมอบอำนาจ ในเวลางานหรือนอกเวลางานเป็นต้น








ระบบสารสนเทศ 4 Thai School Lunch



8.       เมื่อเลือกอาหารได้ครบตามต้องการแล้ว กดปุ่ม บันทึกสำรับนี้

9.       จากนั้นระบบจะถามผู้ใช้งานว่าต้องการจัดสำรับอาหารสำหรับอาหารวันอื่นอีกหรือไม่

-          หากต้องการ กดปุ่ม  OK

-          หากไม่ต้องการ กดปุ่ม Cancel

ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม INMUCAL
 คือ ใช้คำนวณคุณค่าสารอาหารสำหรับสูตรอาหารกลางวันเด็ก เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของโปรแกรม Thai School Lunch ทำให้คุณครูสามารถจัดสำรับอาหารคุณภาพให้กับเด็กได้ ทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอ แก้ไขปัญหาเด็กอ้วนและเด็กขาดสารอาหารได้

จากการวิเคราะห์ปัญหาของระบบ

ปัญหาที่พบจากโปรแกรม INMU-School Lunch คือ โปรแกรมเป็นซอฟต์แวร์แบบ standalone ซึ่งต้องมีการติดตั้งบนคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลจะไม่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย อีกทั้งผู้ใช้งานยังต้องคิดสำรับอาหารเองก่อน โดยโปรแกรมจะตรวจสอบว่าสำรับมีสารอาหารแต่ละชนิดอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการหรือไม่ แต่โปรแกรมยังไม่สามารถแนะนำอาหารให้ผู้ใช้งาน หรือ ตรวจสอบเงื่อนไขในการจัดสำรับเช่น ต้องมีนมอยู่ในทุกสำรับ อาหารที่มีส่วนผสมเป็นกะทิ ควรจัดคู่กับผลไม้ เป็นต้น ดังนั้นการใช้งานโปรแกรมก็ยังต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางโภชนาการและการคิดสำรับอาหารในแต่ละวันให้ไม่ซํ้ากันยังต้องใช้เวลานาน

ระบบสารสนเทศ 3 Thai School Lunch


การจัดสำรับอาหาร

1.       เลือกระบบงาน

2.       เลือกเมนู จัดสำรับอาหาร (กำหนดในแต่ๆละวัน ให้เหมาะแก่อายุของเด็กนักเรียน)

3.       เลือกช่วงอายุนักเรียน

4.       กดปุ่ม ขั้นต่อไป >>

5.       กำหนดวันที่ให้สำรับ เลือกเมนูข้าว , นมชนิดต่างๆ ที่มีปริมาณพลังงานที่ได้รับแตกต่างกัน

6.       กดปุ่ม ขั้นต่อไป>>
                                                                                                                                                                                 

 1.      เลือกอาหารใส่เข้าสำรับ โดยมีวิธีค้นหา , เพิ่ม /ลบ อาหาร ดังนี้

7.1 การค้นหาอาหาร

   7.1.1 ใส่ชื่ออาหารที่ต้องการ

   7.1.2 เลือกประเภทอาหารที่ต้องการ

   7.13 กด Enter หรือกดปุ่ม ค้นหา

7.2 การเพิ่มอาหารเข้าสำรับ

   7.2.1 ค้นหาอาหารที่ต้องการ

   7.2.2 กดที่ชื่ออาหารเพื่อเลือก อาหารนั้นจะปรากฎในสำรับ (หากในกรณีมีบางสารอาหารเกินขึ้นเป็นสีแดง ต้องทำการเปลี่ยนอาหารในสำรับแล้วตรวจสอบค่าพลังงานที่ได้รับอีกครั้ง)

   7.2.3 การลบอาหารออกจากสำรับ

   7.3.1 การกดเครื่องหมาย X ที่ท้ายชื่ออาหารที่ต้องการลบ