วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทความ ฐานข้อมูลภาษาไทย 1




บทความฐานข้อมูลภาษาไทย (1)


จากการวิเคราะห์บทความ “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ”
จากบทความ “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ” ของดร.จำลอง นักฟ้อน สรุปเนื้อหาได้ว่า บทความได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่เหมาะสม ของการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพในอนาคตเป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญยิ่งจึงต้องวางมาตรฐานและคุณสมบัติของผู้ที่จะก้าวขึ้นมาทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติด้านการศึกษา เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพได้ในอนาคตนั่นคือเด็กและวัยเรียนรู้ เริ่มต้นจากผู้บริหารเป็นผู้ควบคุมดูแลพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ อีกทั้งสภาพแวดล้อมทั้งหมดของเด็ก ผู้ที่มีคุณลักษณะที่มีอุดมการณ์และวิสัยทัศน์ที่ไกลกว่าผู้อื่น
บทความเรื่อง “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ” ของดร.จำลอง นักฟ้อน ท่านกล่าวไว้อยู่ ๓ ประการสำคัญคือ
๑. คุณลักษณะส่วนตัว
๒. ทักษะและความรู้
๓.ความสามารถ ประสบการณ์
ประการแรก เป็นเรื่องของคุณลักษณะส่วนตัวของผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรตามที่ซึ่งเป็นผู้ที่มีลักษณะ ๑๐ ข้อซึ่งได้แก่ ๑) มีความรับผิดชอบสูง ๒) มีความขยันหมั่นเพียร ๓) มีความอดทน/อุสาหะ ๔) มีความซื่อสัตย์สุจริต ๕) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ๖) มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์/กระตือรือร้นในการทำงาน ๗) มีทักษะในการวินิจฉัยสั่งการ ๘) มีการรักษาระเบียบวินัยที่ดี ๙) มีความตรงต่อเวลา/การบริหารเวลา ๑๐) มีบุคลิกภาพที่ดี
จึงกล่าวได้ว่าลักษณะเฉพาะของผู้บริหารมืออาชีพนั้นคือลักษณะผู้ที่มีความพร้อมและเหมาะสมในการเป็นผู้นำผู้ที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้พบเห็น เนื่องจาก ๑๐ ประการที่กล่าวมานั้นหากจะว่าไปแล้วเปรียบเสมือนคุณสมบัติเบื้องต้นที่ผู้ปฏิบัติงานที่ดีทั่วไปพึงมี เพื่อที่มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ได้ในอนาคต ผู้เขียนขอเสนอเพิ่มเติมอีกหนึ่งลักษณะที่ผู้นำและผู้ปฏิบัติงานที่ดีควรจะฝึกนั่นคือเรื่องของ “การมองโลกในแง่ดี คิดบวก” สำหรับผู้นำ ผู้บริหารรุ่นใหม่ แล้วนั่นคือสิ่งสำคัญในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆบนพื้นฐานของจิตสำนึกบริสุทธิ์ โดยผู้นำต้องมีวิญญาณของความเป็นเด็ก (The heart of child) นั่นคือการมองโลกในแง่ดี คิดด้านบวก อยากรู้อยากเห็น แสวงหาความรู้ใหม่ๆเติมเต็มอย่างกระตือรือร้น เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการมุ่งแก้ปัญหามากกว่าหาตัวผู้กระทำผิด เพราะนั่นคือการบ่อนทำลายขวัญกำลังใจของพนักงาน
ประการที่สอง ด้านทักษะและความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของ ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพดังที่ท่านดร. จำลองได้กล่าวไว้นั้นจะต้องมี๘ประการอันได้แก่ ๑) ความรู้ความสามารถในเชิงวางแผน ๒) ความรู้ความสามารถในเชิงผู้นำ ๓) ความรู้ความสามารถในการเป็นนักจัดการ ๔) ความรู้ความสามารถในการเป็นนักวิจัยพัฒนา ๕) การเป็นนักประสานงานและประสานประโยชน์ ๖) มีความรู้ความสามารถในเชิงการสื่อสาร ๗) ความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๘)เป็นผู้มีพลังหรือศักยภาพที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง
หากว่าทั้งหมด๘ประการที่กล่าวมารวมอยู่ในตัวผู้บริหาร กล่าวว่าได้ขยับมาอีกขั้นของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในอนาคต ซึ่งการเป็นผู้บริหารที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ควรเป็นผู้ที่รอบรู้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กลยุทธ์ในการวางแผนจัดการบริหารทั่วไปรวมถึงทรัพยากรมนุษย์นั้นซึ่งเป็นเสมือนฟันเฟืองของเครื่องจักรอันจะก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยการเป็นนักประสานงานประสานผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างสมดุล การใช้สื่อสารที่มีศิลปะ สามารถจูงใจให้พวกเขาปฏิบัติงานให้กับองค์กรได้อย่างเต็มกำลังและเต็มใจ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเบื้องต้นด้วยตนเองซึ่งเป็นอีกสิ่งสำคัญของผู้นำยุคใหม่ ทั้งพร้อมที่จะนำศักยภาพทั้งหมดนั้นออกมาใช้ให้เป็น อย่างเหมาะสมแก่เวลาสถานการณ์
ประการสุดท้ายได้แก่ความสามารถ ประสบการณ์หากผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการเก่งคิด เก่งคน และเก่งงานและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของตนอง และมีวิสัยทัศน์นั้นๆร่วมที่สมาชิก การใช้สิ่งเหล่านั้นมาช่วยกันผลักดันสานฝัน ผนวกเข้ากับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ตรงจากระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ และส่วนประสบการณ์ทางอ้อมอาจจะได้แก่ ผลงานทางวิชาการ/เอกสาร/การวิจัย หรือการจบการศึกษาจากด้านการบริหารการศึกษาโดยตรงซึ่งเป็นอีกสาขาวิชาที่จัดให้มีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อได้เพื่อประโยชน์ในการบริหารพัฒนาการศึกษา กลั่นกรองความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ผลิตนักบริหารการศึกษาที่พร้อมที่จะทำงานด้านพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะ อีกทั้งความสามารถในการเป็นนักวิจัยพัฒนา เพื่อเสาะแสวงหาความรู้ นวัตกรรมและรูปแบบใหม่ ๆในส่วนที่สองว่าด้วยเรื่องทักษะของการเป็นผู้บริหาร ดังนั้นไม่ว่าเป็นผู้บริหารมือใหม่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารเต็มตัวหากมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงการที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศชาติในฐานะผู้นำที่มีภาวะผู้นำผู้บริหารที่ไฟแรงแบบมืออาชีพนั้นก็สามารถทำได้อย่างไม่ยากเลย
อย่างก็ตามผู้เขียนขอเพิ่มเติมเพื่อการบริหารงานการศึกษาขององค์กรอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล นอกจากผู้บริหารต้อง มีทักษะและความรู้ความสามารถ ดังกล่าวมาแล้วนั้นจึงอยากเน้นย้ำด้านต่างๆที่สำคัญต่อการบริหาร ปกครองของผู้บริหาร ผู้นำที่ดีดังต่อไปนี้
๑.วิสัยทัศน์กว้างไกล
คุณสมบัติของผู้นำที่ถูกพูดถึงมากที่สุดและ คือส่วนสำคัญในด้านทักษะความสามารถที่ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จรู้จักดีและมีอยู่แล้วทุกท่าน แต่นักบริหารที่กำลังต้องการก้าวสู่ตำแหน่งที่เรียกว่าผู้นำ ผู้บริหาร โดยเฉพาะงานบริหารการศึกษาที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศแล้วนั้น ผู้บริหารยุคใหม่จึงต้องศึกษาแล้วนำมาใช้ในการบริหารจัดการนั่นคือ “วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล”
วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหาร สถานศึกษาทุกคนจะต้องมีเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง มาสู่สถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตรเช่นในปัจจุบัน Braun (1991: 26) มิติของวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็น 3 มิติ คือ
การสร้างวิสัยทัศน์ (Formulated Vision) คือ สร้างภาพในอนาคตของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนว่า ประสิทธิผลที่ดีที่สุดของสถานศึกษาที่ต้องการอย่างแท้จริงคืออะไร ทั้งนี้โดยอาศัยทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสังเคราะห์ข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษา
การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Articulated Vision) คือ การที่สามารถสื่อสารให้สมาชิกมีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของตนได้อย่างชัดเจน ยอมรับ และเต็มใจที่จะปฏิบัติงานทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น
การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (Operational Vision) คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติจริงได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้โดยวิธีการหลอมวิสัยทัศน์ของตนลงไปสู่นโยบาย เป้าหมาย แผนงาน โครงการ กิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา และโดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคณะครู
ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่แท้จริงนั้นจะต้องมีกระบวนการลีลาของวิสัยทัศน์ ครบทั้ง 3 มิติคือ คิดได้ (การสร้างวิสัยทัศน์) สื่อเป็น (การเผยแพร่วิสัยทัศน์) และโน้มนำให้มีการปฏิบัติล่วงหน้า (การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์) พร้อมทั้งมีการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง แก้ไขให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบด้วย และการมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทำวิสัยทัศน์เป็น Roadmap ให้ทุกคนในสถานศึกษา ได้ใช้เป็นประทีปนำทางในการปฏิบัติงาน ก็จะสามารถนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

๒.“ศาสตร์” และ “ศิลป์”
สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปทุกๆปี ดังจะกล่าวถึง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ที่ผู้บริหารจะต้องมีเพื่อการปฏิบัติงานบริหารการศึกษาได้อย่างยอดเยี่ยม ตามเป้าหมายและอุดมการณ์ที่ตั้งไว้ ก็จึงควรเปลี่ยนแปลงไปให้ทันยุคทันสมัยด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าการบริหารการศึกษาเรียกได้ว่าเป็นศาสตร์ ที่มีการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการทางสาขาการบริหารการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศมายาวนานพอสมควร เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของหลักการ แนวคิดทฤษฎี และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองเพื่อได้มาซึ่งการพัฒนาการศึกษาของประเทศและผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
ในปัจจุบันนี้ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาจึงเป็นอีกหนึ่งจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ การนำเอาศาสตร์ที่มีมาประยุกต์ใช้ให้เป็นหรือการบริหารอย่างมีศิลปะซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีการแบบฉบับของตนเองต่างกันออกไป เช่น
ผู้บริหารต้องมีความรับผิดชอบ รับผิดชอบในคำพูด ให้คำสัญญาเท่าที่ทำ
ได้เท่านั้น เมื่อทำไม่ได้หรือเกิดความผิดพลาดก็สามารถอธิบายชี้แจงสาเหตุให้ทุกฝ่ายเข้าใจและหมดข้อสงสัย
ผู้บริหารผู้มีสติปัญญา และการตัดสินใจที่ถูกต้อง รวดเร็ว เด็ดขาด
รอบคอบในการสั่งงาน มีวาทศิลป์ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นให้มากที่สุด
ผู้บริหารควรมีศรัทธา บารมี ต่อทุกคนและผู้ร่วมงาน ทำอย่างไรให้
คนเชื่อถือไว้วางใจ และเกิดการกระทำในสิ่งที่ผู้นำ จูงใจให้กระทำ หรือมักเรียกกันว่า บารมี การที่จะสร้างศรัทธา บารมีให้เกิดต้องใช้ความมานะอดทนแสดงความจริงใจต่อผู้อื่นก่อนเสมอ
ผู้บริหาร ต้องเรียนรู้อย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งการ
เรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน เช่นองค์ความรู้ใหม่ๆ เห็นสิ่งใหม่ๆแล้วกลับนำมาใช้ในองค์กร ในหน่วยงาน ใช้สอนหรือแนะนำตามที่ได้ศึกษามาให้เกิดประโยชน์
ผู้บริหารมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อทุกคน สร้างบรรยากาศ
การทำงานที่สดชื่น คือแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้สนุกในการทำงานแล้วจะประสบความสำเร็จสิ่งนี้จะเป็นน้ำล่อเลี้ยงให้การบริหารอย่างมีศิลปะเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ
ผู้บริหารต้องตามให้ทัน ทันคน ทันงาน ทันสถานการณ์ และควรหา
วิธีที่แปลกใหม่ ทดลองใช้อยู่เสมอเนื่องจากยุคสมัยนี้สิ่งต่างๆสถานการณ์รอบข้างเปลี่ยนแปลงแบบรายวันไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ควรต้องตามให้ทัน
๓.คุณธรรม จริยธรรม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลที่ สมศ. หรือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาได้กำหนดไว้ ๖ประเด็นที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรปฏิบัติตามและให้ความสำคัญอันได้แก่
๑ ประเด็นความสุจริต
๒ ประเด็นความยุติธรรม
๓ ประเด็นการใช้ระบบคุณธรรม
๔ ประเด็นการรับ ฟังปัญหา
๕ ประเด็นการมีส่วนร่วมใน การบริหาร
๖ ประเด็นจรรยาบรรณวิชาชีพ
และตามที่ทัศนะนักทฤษฎีจิตวิทยาสังคมและนักการศึกษาทั่วไปมัก กล่าวถึง สรุปได้ ๖ ประเด็น คือ
๑ หลักนิติธรรม ๒ หลักคุณธรรม ๓ หลักความโปร่งใส ๔ หลักการมีส่วนร่วม ๕ หลักความรับผิดชอบ ๖ หลักความคุ้มค่า
ดังที่กล่าวมาข้างต้นหากสังเกตจะเห็นได้ว่าทั้งที่สมศ. กำหนด(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) และทัศนะนักทฤษฎีจิตวิทยาสังคมและนักการศึกษาทั่วไปได้กล่าวถึงนั้นคือการที่ผู้บริหารที่ดีควรปฏิบัติตาม โดยรวมให้มีลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ บริหารงานอย่างโปร่งใส่ ตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ดังนั้นผู้บริหารยุคใหม่ที่ดีควรนำศิลปะการบริหารงานร่วมด้วย เชื่อได้ว่าจะต้องประสบความสำเร็จ ทั้งตัวผู้บริหารเองและองค์กรอย่างแน่นอน
หลักธรรมาภิบาลนั้นสามารถนำไปใช้ในองค์กรต่างไม่ว่าจะภาครัฐหือเอกชน ไม่ว่จะเป็นองค์กรขนาดเล็กใหญ่ หากพูดถึงเรื่องของความซื่อ สัตย์ สุจริตความวางใจซึ่งกันและกัน ของสมาชิกในองค์กร อาจมีการวางแผนร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการประเมินการดำเนินงาน มีนโยบายและรับผิดชอบร่วมกัน โดยเฉพาะจรรยาบรรณของผู้ที่เรียกได้ว่าเป็นข้าราชการด้วย หลักธรรมาภิบาจึงเป็นที่นิยมนำไปใช้ในหน่วยงานต่างๆและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากได้รวบรวมเรื่องของการมีคุณธรรม จริยธรรม เช่น หากเป็นผู้บริหาร ผู้นำจะต้องเป็นที่รักและเคารพของผู้ใต้บังคับบัญชาคือหนึ่งในทักษะการปฏิสัมพันธ์โดยใช้คุณธรรม และเมตตา ส่งผลให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักเคารพ เพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน อีกทั้งเสริมบารมีแก่ตนเอง เกิดประโยชน์ด้านการบริหารงานสั่งงานด้วย

๕.ผู้นำ ผู้บริหารในยุคไอที
เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลง สภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ขึ้นๆลงๆ(โดยเฉพาะช่วงนี้ไม่ค่อยขึ้นมีแต่ลง) แล้วความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ยังทำให้ผู้บริหารยุคนี้ต้องเอาใจใส่และตามให้ทัน ใช้ให้เป็น ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงเริ่มพูดกันถึงเรื่องอินเทอร์เน็ต
ผู้บริหารจึงควรใส่ใจดูแลให้มีการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ใช้ทั่วหน่วยงานได้อย่างทั่วถึงด้วย ให้ความสะดวกในการหาข้อมูลในการปฏิบัติงานของพนักงาน และยังเป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาด้วยตนเองอย่างดีเช่นการหาข้อมูลใน Google.comเป็นที่นิยมใช้กันอย่างมากในการหาสิ่งที่อยากรู้ ได้รู้รอบโลก ครอบจักรวาลเลยทีเดียว ประโยชน์ที่จะได้จากระบบอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้บริหารยุคใหม่อันได้แก่
ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยัง
อีกที่หนึ่งตลอดจนการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลขอคนหมู่มาก ส่งผลให้ผู้บริการองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจต้องสามารถทำการตัดสินใจ ทางเลือกของการแก้ปัญหาและโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การดำเนินงานและปัญหาการ
สื่อสาร ประสานงานที่ซับซ้อนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยลดความไม่แน่นอนและความผิดพลาดใน การตัดสินใจลง
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับเทคโนโลยีสารสนเทศยังมิได้
เป็น ความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงาน
ผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยยังมิได้พัฒนาทักษะทางสารสนเทศสู่
ระดับที่ต้องการ ดังนั้นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นในช่วงเวลาของการตื่นตัวด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีความเข้าใจและทักษะมากขึ้น
ในทางปฏิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ แต่
ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำสารสนเทศมาส่งเสริมศักยภาพในการ ดำเนินงานขององค์การ หากได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็จะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การได้

๖.แรงจูงใจในองค์กร
ไม่เพียงแต่เรื่องของการบริหารงาน บริหารเวลาเท่านั้นที่ต้องใช้ศิลปะ การบริหารคนก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการการทำงานทุกขั้นตอน ต้องใช้กำลังคน ดังนั้นการที่จะนำคน นำเอาความสามารถของคนเหล่านั้นออกมาใช้ให้
ได้แบบเต็มที่และเต็มใจ เรียกว่าได้ว่าการดึงเอาสมรรถภาพออกมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ
เช่นในตัวอย่างทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบาย โดยใช้แนวโน้มของบุคคล ในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งกระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal) Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนาเหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรก ไปสู่ความปรารถนาขั้นสูง ขึ้นไปเป็นลำดับ
นอกจากทฤษฏีต่างๆของนักคิดที่หยิบยกมาไว้ในตำราวิชา EA๗๑๓ หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักสูตรของปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ผู้เขียนอยากขอยกข้อธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้นำที่ดี ผู้ที่มีภาวะผู้นำเมื่อได้นำไปปฏิบัติก็จะเกิดความมั่นคงและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นที่รักและเคารพของผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุคใหม่ในที่สุด นั่นคือ สังคหวัตถุ๔ (Base of sympathy) ธรรมเพื่อให้คน เป็นที่รักของคน ซึ่งได้แก่
ทาน (Giving Offering) คือการให้ เสียสละ แบ่งปันแก่ผู้อื่น เช่น การให้
รางวัล สวัสดิการที่ดี ไม่เป็นคนประหยัดเกินไป ดังคำกล่าวที่ว่า Better a Giver Than a Giver Be (http://www.burg.com/)
ปิยวาจา (Kindly speech) คือ พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ นุ่มนวล เหมาะ
แก่บุคคล เวลา สถานที่ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดในทางสร้างสรรค์ และเกิดกำลังใจ เช่น การควบคุม การจูงใจ อีกทั้งหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ในทุกสถานการณ์
อัตถจริยา (Useful conduct) ทำตนให้เป็นประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญา
ความรู้ความสามารถ กำลังทรัพย์ และเวลา เช่น การพัฒนาคน การบริหารงานตามวัตถุประสงค์ อบรมสัมมนา จัดให้พนักงานอบรมสัมมนากิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก ความผูกพัน ในองค์กรด้วย
สมานัตตตา (Even and equal treatment) คือทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย
วางตนเหมาะสมกับ ฐานะ ตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่ก็ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุข เป็นกันเองไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การมอบอำนาจ ในเวลางานหรือนอกเวลางานเป็นต้น








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น